เราใช้คุกกี้ 🍪 เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณกด “ยอมรับ” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ นโยบายการใช้งานคุ๊กกี้
ข้อมูลที่ใช้ในการหา DRG
1. รหัสการวินิจฉัยโรคหลัก (Principal Diagnosis, PDx)
คือ รหัส ICD-10 สำหรับโรคหลักที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษา ในการเข้ารักษาในโรงพยาบาลครั้งนั้น PDx จะต้องมีเสมอและมีได้ 1 รหัสเท่านั้น ปกติแล้วแพทย์ผู้ดูแลรักษาคือผู้สรุปว่า โรคหรือภาวะที่ให้การตรวจรักษาเป็นหลักในการอยู่โรงพยาบาลครั้งนั้น คือโรคหรือภาวะใด แม้ว่าบางครั้งอาจก้ำกึ่ง ตัดสินใจยาก แต่มีความจำเป็นที่จะต้องสรุปให้ได้ก่อนที่จะนำมาหา DRG
รหัส ICD-10 ที่ใช้เป็น PDx ใช้ ICD-10 (2016) ของ WHO และ ICD-10-TM (2016) ที่เพิ่มความละเอียดและไม่ขัดแย้งกับ ICD-10 WHO ยกเว้นรหัสในกรณีต่อไปนี้ ซึ่งถือว่าใช้ไม่ได้ (invalid) ได้แก่
- รหัสที่เป็นหัวข้อ เมื่อหัวข้อนั้นมีการแบ่งเป็นข้อย่อยในรหัส WHO เช่น A00 (Cholera) ใช้ไม่ได้ เพราะมีการแบ่งเป็นข้อย่อย A001, A002 และ A009 (กรณีที่รหัส WHO ไม่มีการแบ่งเป็นข้อย่อย แม้จะมีการแบ่งข้อย่อยใน ICD-10-TM รหัสที่เป็นหัวข้อยังใช้ได้ เช่น B86 เป็นต้น)
- รหัส External causes (ขึ้นต้นด้วย V, W, X, Y)
นอกจากนี้มีการเพิ่มเติมในบางส่วนของรหัส WHO เช่น รหัสที่ขึ้นต้นด้วย F (แบ่งละเอียดขึ้น), I (I70.- เพิ่มรหัสระบุการมี gangrene), M (เพิ่ม site code) และ S, T (ระบุ closed และ open สำหรับ fracture และ บาดแผลของ body cavity) ในส่วนที่เพิ่มนี้ รหัสที่เป็นหัวข้อยังใช้ได้ เช่น T08 (Fracture of spine, level unspecified) ยังใช้ได้แม้จะมีรหัส T080 (สำหรับ closed) และ T081 (open) เนื่องจากการแบ่งเป็น T080 และ T081 ไม่ได้เป็นการบังคับ
2. รหัสการวินิจฉัยโรคอื่น (Secondary Diagnosis, SDx)
คือ รหัส ICD-10 สำหรับโรคอื่นนอกเหนือจากโรคหลัก SDx อาจเป็นโรคร่วม (comorbidities) หรือภาวะแทรกซ้อน (complications) ก็ได้ แต่ต้องมีการดำเนินการรักษาในครั้งนั้น โรคในอดีตที่หายแล้ว หรือโรคที่ไม่มีการดำเนินการตรวจ และโรคที่ไม่ได้ให้การรักษา (other diagnoses) จะนำมาเป็น SDx ไม่ได้ SDx อาจไม่มีเลย หรือมีหลายรหัสก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 12 รหัส
รหัส ICD-10 ที่ใช้เป็น SDx ได้นั้น มีข้อกำหนดเช่นเดียวกับ PDx ดังข้างบน
3. รหัสการผ่าตัดและหัตถการ (Procedure, Proc)
คือ รหัส ICD-9-CM (ฉบับปี 2015) สำหรับการผ่าตัดและการทำหัตถการต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะเรียกรวมกันว่าหัตถการ ใน Thai DRG version 6.3.3 มี การกำหนดหัตถการที่เป็น OR Procedure (Operating Room Procedure, OR-Proc) หมายถึง หัตถการที่มีการกำหนดไว้ในระบบการจัดกลุ่ม ว่าเป็นหัตถการที่ต้องใช้ห้องผ่าตัด ไม่ว่าในการทำจริงๆ ทำในห้องผ่าตัดหรือไม่ก็ตาม
Proc อาจไม่มี หรือมีหลายรหัสก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 20 รหัส เฉพาะที่ได้มีการทำใน admission นั้น
ICD-9-CM Procedure with Extension code คือ การเพิ่มรหัส 2 ตำแหน่งต่อท้ายรหัส ICD-9-CM เดิม เพื่อบอกจำนวนตำแหน่ง และจำนวนครั้งของการผ่าตัด เนื่องจากรหัสหัตถการโดยลำพังไม่สามารถแสดงความแตกต่าง ในกรณีที่มีการผ่าตัดหลายตำแหน่ง หรือหลายครั้ง จึงมีการเพิ่มข้อมูลบางส่วน เพื่อให้สามารถจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมที่แยกความแตกต่างได้
4. วันเกิด (Date of birth, DOB)
5. อายุ (Age และ AgeDay)
ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว ได้แก่
- Age คือ อายุเป็นปี มีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 124
- AgeDay คือเศษที่เหลือของปี นับเป็นวัน มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 364 หรือ 365 วัน
สูตรในการคำนวณอายุคือ วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล – วันเกิด (DateAdm – DOB) กรณีที่ข้อมูลวันเกิดและวันที่รับไว้ในโรงพยาบาลไม่ครบ ให้ใช้อายุที่ใส่โดยตรง (ฟิลด์ Age และ AgeDay) ถ้ามีทั้งที่ได้จากการคำนวณและที่ใส่โดยตรง ให้ใช้ที่ได้จากการคำนวณ
กรณีที่ Age มีค่าเป็น 0 จำเป็นต้องมี AgeDay ถ้า Age มากกว่า 0 จะไม่มี AgeDay ก็ได้
อายุที่ใช้ในการจัดกลุ่ม DC ใช้จำนวนอายุเต็มปี (Age) โดยตัดเศษทิ้งไป (AgeDay ใช้ในการกำหนด MDC15 เท่านั้น) ตัวอย่าง เช่น ใน DC ที่กำหนด Age > 54 ผู้ป่วยที่เข้าเงื่อนไขนี้ต้องมี Age เป็น 55 หรือมากกว่า ผู้ป่วยที่มี Age เป็น 54 ร่วมกับ AgeDay เป็น 1 วันขึ้นไป ไม่เข้าเงื่อนไขนี้
6. น้ำหนักตัวแรกรับ (Admission weight, AdmWt)
คือน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมในขณะที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล สำหรับทารกที่คลอดในโรงพยาบาลจะเป็น Birth weight ข้อมูลน้ำหนักตัวแรกรับมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่เป็นทารกแรกเกิด (อายุ 0 – 27 วัน)
AdmWt ที่มีค่าน้อยกว่า 0.3 กก. ถือว่าไม่มี หรือใช้ไม่ได้ (invalid)
7. เพศ (Sex)
มีค่าเป็น 1 หรือ 2 โดย 1 แทน เพศชาย, 2 แทน เพศหญิง
8. ประเภทการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (Discharge Type, Discht)
ค่าที่ใช้ได้ และความหมาย มีดังนี้
1 = With approval
2 = Against advise
3 = Escape
4 = Transfer
5 = Other
8 = Dead autopsy
9 = Dead no autopsy
9. วันที่และ เวลา รับไว้ในโรงพยาบาล (Admission date & time, DateAdm & TimeAdm)
10. วันที่และ เวลา จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (Discharge date & time, DateDsc & TimeDsc)
TimeAdmและ TimeDsc ระบุโดยใช้ตัวเลข 4 ตัว เลข 2 ตัวหน้าระบุชั่วโมง มีค่า 00 – 23 เลข 2 ตัวหลังระบุ นาที มีค่า 00 – 59 เวลา 2400 ใช้ไม่ได้
11. จำนวนวันที่ลากลับบ้าน (Leave day) คือ จำนวนวันที่ลากลับบ้านโดยที่ยังไม่ได้จำหน่ายผู้ป่วยออก ให้นับจำนวนวันที่ลากลับบ้านทุกครั้งรวมกันต้องไม่น้อยกว่า 0 การมีค่าน้อยกว่า 0 จัดเป็นความผิดพลาดเกี่ยวกับ Length of Stay
วิธีนับจำนวนวันลากลับบ้าน ใช้หลักการดังนี้
1. วันแรกที่ผู้ป่วยลากลับบ้าน ให้นับเป็นวันที่ลากลับบ้าน
2. วันถัดมา ถ้ายังไม่ได้กลับมานอนรพ. ให้นับเป็นวันที่ลากลับบ้าน
3. วันที่กลับมาจากการลากลับบ้าน ให้นับเป็นวันที่นอนโรงพยาบาล
4. ผู้ป่วยที่กลับมาจากการลากลับบ้าน แล้วลากลับบ้านต่อในวันเดียวกัน ให้นับเป็นวันที่ลากลับบ้าน
5. ถ้าวันที่ลากลับบ้านเป็นวันเดียวกับวันที่รับไว้ในโรงพยาบาล (Admission date) ให้นับเป็นวันที่นอนโรงพยาบาล
6. ถ้าวันที่กลับมาจากการลากลับบ้านเป็นวันเดียวกับวันที่จำหน่าย (Discharge date) ไม่ให้นับเป็นทั้งวันที่ลากลับบ้านและวันที่นอนโรงพยาบาล
12. ระยะเวลาที่นอนรักษาในโรงพยาบาล (Length of stay, LOS)
LOS คือ ระยะเวลาที่นอนรักษาในโรงพยาบาล ที่คำนวณโดยใช้ทั้งวันที่และเวลาที่รับไว้และจำหน่าย โดยนับ 24 ชั่วโมงเป็น 1 วัน กรณีมีเศษของ 24 ชั่วโมงและเศษนั้นนับได้เกิน 6 ชั่วโมง ให้ถือเป็น 1 วัน
ถ้าจำนวนวันที่ลากลับบ้านมีค่ามากกว่า 0 ให้นำไปลบออกด้วย ถ้า LOS ที่ได้มีค่าน้อยกว่า 0 จัดเป็นความผิดพลาดเกี่ยวกับ Length of Stay ถ้า LOS หลังการหักลบมีค่าเป็น 0 จัดเป็นกรณีอยู่โรงพยาบาลไม่เกิน 24 ชั่วโมง
การจัดกลุ่ม TDRG
ข้อมูลที่ใช้ ต้อง ผ่าน Data Validate ก่อน รูปแบบถูกต้อง, อยู่ในค่าที่กำหนด, ความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่น เช่น โรคกับอายุ โรคกับเพศ หัตถการกับเพศ
Invalid Data จะหา DRG ได้หรือไม่?
ถ้าเป็นข้อมูลสำคัญ เช่น PDX, Age, LOS จะได้ Error Code และ Error DRG
•ไม่มี PDx : Error code 1 และ DRG 26509
•Invalid Pdx : Error code 2 และ DRG 26509
•Pdx ไม่เหมาะกับเป็นผู้ป่วยใน : Error code 3 และ DRG 26519
•Age ผิดพลาด : Error code 6 และ DRG 26539
•Sex ขัดแย้ง Pdx : Error code 5 และ DRG 26509
•จัดกลุ่มไม่ได้เพราะ Sex : Error code 5 และ DRG 26509
Error DRG 265xx ค่า RW= 0.0000
ถ้าเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องมี เช่น SDX ผิด, Procedure ผิด จะได้รหัสเตือน (warning) และหา DRG ต่อไป โดยถือว่าไม่มีข้อมูลนั้น
บางข้อมูล เช่น Sex, Discharge Type หาก Invalid จะได้รหัสเตือนก่อน และหา DRG ต่อไป แต่หากจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนั้น จะได้ Error Code และ Error DRG
สรุป Error Code ใน TDRG
สรุป Warning Code ใน TDRG
1 SDx ใช้ไม่ได้ หรือซ้ำกับ PDx หรือ ซ้ำกันเอง
2 SDx ไม่เหมาะกับอายุ
4 SDx ไม่เหมาะกับเพศ หรือ เป็นรหัสสำหรับเพศใดเพศหนึ่ง แต่ไม่มีข้อมูลเพศ
8 Proc ใช้ไม่ได้ หรือ ซ้ำกันเอง
16 Proc ไม่เหมาะกับเพศ หรือ เป็นรหัสสำหรับเพศใดเพศหนึ่ง แต่ไม่มีข้อมูลเพศ
32 ไม่มีข้อมูลเพศ หรือ ใช้รหัสนอกเหนือจากที่กำหนด
64 ไม่มีประเภทการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล หรือ ใช้รหัสนอกเหนือจากที่กำหนด
128 ไม่มีวันที่ และ/หรือ เวลา ที่รับไว้ในโรงพยาบาล หรือ มีแต่ไม่ถูกต้อง
256 ไม่มีวันที่ และ/หรือ เวลา ที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล หรือ มีแต่ไม่ถูกต้อง
สรุป Warning Codeสรุป Error Code ใน TDRGสรุป Error Code ใน TDRGสรุป Error Code ใน TDRGการจัดกลุ่ม TDRGการจัดกลุ่ม TDRGการจัดกลุ่ม TDRGการจัดกลุ่ม TDRGPowered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor