เราใช้คุกกี้ 🍪 เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณกด “ยอมรับ” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ นโยบายการใช้งานคุ๊กกี้
DRG คืออะไร
DRG คือ Diagnosis Related Group (DRG) (กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม) คือ ระบบการจัดกลุ่มผู้ป่วยแบบหนึ่ง เป้าหมายคือ ให้ผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วย การรักษา และ การใช้ทรัพยากรในการดูแลรักษาใกล้เคียงกัน อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ซึ่งนำข้อมูลรหัสโรค, รหัสหัตถการ, อายุ, เพศ, วันนอน และอื่นๆ ที่เป็นการรักษาพยาบาลมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อจัดกลุ่มโรคที่มีการใช้ทรัพยากรใกล้กัน
ซึ่งประเทศไทยได้พัฒนา Thai Diagnosis Related Group (TDRG) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 และเริ่มนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลเป็นครั้งแรก สำหรับผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อปี พ.ศ. 2555 รวมทั้งได้มีการขยายผล ไปใช้เป็นเครื่องมือในการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน สำหรับผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมและผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการของกรมบัญชีกลาง ตามลำดับ ปัจจุบันสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยสำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย ส่วนงานมาตรฐานและการบริการสารสนเทศระบบบริการสาธารณสุข (สมสส.) ได้พัฒนา TDRG ฉบับที่ 6 ให้จัดกลุ่มโรคได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางคลินิก เทคโนโลยีทางการแพทย์ การรักษาพยาบาลและการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2560
Assignment of DRG
ค่ามาตรฐานสำหรับ DRG
- น้ำหนักสัมพัทธ์ (RW- Relative weight )
- วันนอนเฉลี่ย (WTLOS)
- จุดตัดวันนอนเกินเกณฑ์ (OT- Outlier Trim Point)
- น้ำหนักสัมพัทธ์ ที่ปรับตามวันนอน (AdjRW - Adjusted Relative Weight)
Relative Weight (RW) คือ
“น้ำหนักสัมพัทธ์” เป็นตัวเลขเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการดูแลรักษาผู้ป่วยของ DRG นั้น ว่าเป็นกี่เท่าของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งหมด (ค่าเฉลี่ยของ RW =1)
ค่า RW ยิ่งมากแสดงว่าผู้ป่วยกลุ่มนั้นเป็นโรคที่ซับซ้อนรุนแรงมากต้องใช้ทรัพยากรในการรักษามาก
ขั้นตอนในการจัดกลุ่ม DRG
•ค่า Relative Weight (RW) เป็นค่ามาตรฐานที่ใช้สะท้อนความรุนแรงของผู้ป่วย และการใช้ทรัพยากรในการรักษา ในแต่ละกลุ่ม DRG
•ค่า Relative Weight (RW) ยิ่งมากแสดงว่าผู้ป่วยกลุ่มนั้นเป็นโรคที่ซับซ้อนรุนแรงมากต้องใช้ทรัพยากรในการรักษามาก
การคำนวณ ค่า Relative Weight (RW)
การพัฒนา DRGs ของไทย (Development of Thai DRG)
ทำไมต้องพัฒนามาเป็น TDRG 6
TDRG 5.1 เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1 เมย. 2555
DRG จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงให้ทันกาลอยู่เสมอ
วิธีการรักษาเปลี่ยนไป ทั้งจาก technology ยา อุปกรณ์ วิธีการรักษาใหม่ ความรู้ใหม่
มูลค่าของทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไป (ค่าแรงบุคลากรที่มักแพงขึ้น แต่ค่ายาและอุปกรณ์ที่มักลดลง)
ข้อจำกัดของ TDRGs 5.1
ข้อกำหนดการจัดกลุ่มผู้ป่วย
ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ใช้ข้อมูลในอดีต (ปี 2552) อาจไม่สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรในปัจจุบัน
สูตรการปรับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ตามวันนอน ไม่สะท้อนการใช้ทรัพยากรในบางกลุ่ม
พฤติกรรมการให้รหัสโรค ความรู้ ความเข้าใจ และหลักเกณฑ์เปลี่ยนแปลง
มีการเพิ่มใหม่และยกเลิกรหัสโรค รหัสหัตถการ
TDRGs Version 6 ดีกว่า TDRGs 5.1 อย่างไร
วิธีการจัดกลุ่มโรค ให้ความสำคัญกับความซับซ้อนทางคลินิก การรักษา และการใช้ทรัพยากร โดยทดสอบความเห็นเชิงลึกทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ทำให้การจัดกลุ่มโรคมีความสอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรดีกว่า
ใช้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันกว่า ในการจัดกลุ่มและคำนวณค่า RW
ค่าสถิติบ่งชี้ว่า TDRGs 6 มีความสามารถในการจัดกลุ่มได้สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรในการรักษาดีกว่า
การลดความแปรปรวน (Reduction in Variance, RIV) ถ้ามีค่ามากแสดงว่าการแบ่งกลุ่มโรคเหมาะสมมาก
TDRGs ฉบับ 6 แม้มีจำนวนกลุ่มโรคน้อยกว่า แต่ลดความแปรปรวนของค่ารักษาได้มากกว่า แสดงว่าจัดกลุ่มโรคได้ดีกว่า
อำนาจอธิบาย (หรือ r-square) ค่ารักษา (charge) ด้วยน้ำหนักสัมพัทธ์ (RW)
RW ของ TDRGs ฉบับ 6 อธิบายได้ดีกว่า และค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับตามวันนอน (AdjRW) ยิ่งอธิบายค่ารักษาได้มากขึ้น
อะไรเปลี่ยนแปลงใน TDRGs version 6
เปลี่ยนแปลงการจัดกลุ่มโรค (MDC & DC)
ปรับระบบความรุนแรงของโรค “ใหม่” ให้สะท้อนทั้งต้นทุน ความซับซ้อนของโรคและการรักษา (New CC system)
คำนวณค่าน้ำหนักสัมพัทธ์และเปลี่ยนสูตรการปรับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ด้วยเกณฑ์วันนอน “ใหม่” (New RW and Adjusted RW formula)
ใช้รหัสโรคและรหัสหัตถการ “ชุดใหม่” (New diagnosis and procedure code set)
เปลี่ยนแปลง การจัดกลุ่มโรค (MDC & DC)
ยกเลิก MDC 28 กลุ่มผู้ป่วยที่นอนรพ.< 6 ชม. ใช้ RW0d (นอนรพ.< 24 ชม.) แทน
Tracheostomy
TDRGs 5.1: แยกอยู่ตาม MDC ต่าง ๆ (64 DRGs)
TDRGs 6: ยุบรวมมาอยู่ในกลุ่ม PreMDC (16 DRGs) ตามเงื่อนไข
แยกการผ่าตัดแบบ Laparoscopic & Thoracoscopic จาก Open ใน MDC 04, 06, 07 & 13
ปรับปรุงการจัดกลุ่มในผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่ยังไม่คลอด (antenatal ใน MDC 14) ที่มีปัญหา medical & surgical
ปรับเปลี่ยนวิธีจัดกลุ่มในการผ่าตัดที่ไม่สัมพันธ์กับโรคหลัก (Unrelated OR Procedure)
ปรับปรุงการจัดกลุ่มโรคใน DC ต่างๆ เพิ่ม/ยุบ
ปรับปรุงระดับของการผ่าตัด (Surgical hierarchy)
ระบบ CC ใหม่
จัดทำ CC List & CC Exclusion Lists ใหม่
จัดทำ DCL สำหรับทุกรหัสโรคในทุก DC
สร้าง “สูตร” สำหรับการรวม DCL เป็น PCL (Patient Complexity Level)
DCL : Diagnosis Complexity Level (ระดับความซับซ้อนของแต่ละรหัสโรค)
PCL : Patient Complexity Level (ดัชนีที่ใช้บอกระดับความซับซ้อนในผู้ป่วยแต่ละราย)
CC : Clinical Complexity (ความซับซ้อนของการเจ็บป่วยและการรักษา ซึ่งขึ้นกับโรคหลัก การมีภาวะแทรกซ้อน หรือโรคร่วม ทำให้มีความยุ่งยาก และมีการใช้ทรัพยากรในการรักษามากขึ้น)
CCC : Cost and Clinical Complexity (ความซับซ้อนของการเจ็บป่วยและการรักษา และขนาดการใช้ทรัพยากร ซึ่งขึ้นกับโรคหลัก โรคร่วม และการใช้ทรัพยากรในการรักษา)
การกำหนดหมายเลขของ Thai DRG
5-digits number: MMDDC
MM = MDC (00 – 26)
DD = DC (01-49, 50-99)
C = CCC (0 – 4, 9)
ปรับ TDRG Version 6.3.3 เป็น TDRG Version 6.3.4
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor