สรรพสาร สมสส.
นำเสนอข้อมูลต้นทุนบริการผู้ป่วยนอก ต้นทุนบริการผู้ป่วยใน และอัตราส่วนต้นทุนผู้ป่วยในเฉลี่ยต่อราย ต่อ ต้นทุนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อครั้ง จากข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลจากการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ 2561-2564)
อ่านเพิ่มเติมPowered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
เมื่อพูดถึง "ระบบ CaseMix" หลายท่านอาจสงสัยว่า คืออะไร เนื่องจากผู้ที่ทำงานในระบบบริการสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่รับผิดชอบด้านการเงินของสถานพยาบาล คุ้นเคยกับ "ระบบ DRG" ซึ่งใช้จำแนกกลุ่มโรคร่วมสำหรับผู้ป่วยใน (IPD) มากกว่า
DRG ซึ่งถูกใช้ในการจ่ายชดเชยค่าบริการผู้ป่วยในประเภทเฉียบพลัน (Acute In-patient)เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งในการจำแนกกลุ่มโรคร่วมของระบบ CaseMix และยังมีรูปแบบอื่น ๆ ที่ใช้จำแนกกลุ่มโรคร่วม เพื่อรองรับการจ่ายชดเชยค่าบริการสุขภาพ เช่น บริการผู้ป่วยในประเภทกึ่งเฉียบพลัน บริการผู้ป่วยนอก, บริการจิตเวช, เป็นต้น แม้จะมีการใช้งาน DRG มานานกว่า 10 ปี แต่เมื่อพบปัญหาหรือข้อสงสัย ผู้ใช้จะเกิดคำถามในใจว่า "เราจะไปสอบถามใคร?" หรือ "จะต้องแจ้งไปที่ไหน?" บางหน่วยงานจะประสานงานไปยังกองทุนประกันสุขภาพ หรือ สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) หรือ Data center บ้างจะประสานเป็นส่วนตัวไปยังทีมงานที่พัฒนาระบบ DRG ซึ่งทำงานวิจัยนี้ด้วยใจรักในรูปแบบโครงการวิจัย การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลปัญหาและข้อสงสัยต่าง ๆ จึงมีข้อจำกัดเนื่องจากมิได้จัดทำอย่างเป็นระบบ
ปัญหาและข้อสงสัยต่าง ๆ ในการใช้งานระบบ DRG เป็นข้อมูลที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในการพัฒนา DRG ให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และคำนวณจ่ายชดเชยค่าบริการสุขภาพได้สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรสุขภาพที่คุ้มค่า
สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย (สรท.) จึงถูกจัดตั้งขึ้น เป็นหน่วยงานเครือสถาบันของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่มีโครงสร้างบริหารชัดเจน มีหน้าที่พัฒนาเครื่องมือจ่ายชดเชยระบบ CaseMix โดยมีภารกิจในการพัฒนาระบบ CaseMix ให้รองรับรูปแบบบริการสุขภาพอื่น ๆ ที่มีอยู่ และที่จะเกิดขึ้นใหม่ ภาระงานนี้จะสำเร็จได้ จำเป็นต้องมีผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบบริการสุขภาพ มาร่วมให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น ข้อท้วงติง และความรู้ และร่วมกันพัฒนาระบบจ่ายชดเชยให้มีความสมดุลและสามารถยึดถือเป็นมาตรฐานต่อไป
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับ DRG สอบถามเกี่ยวกับ Unit Cost
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor